วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เด็กตัวเล็ก


1. สุนทรียศาสตร์ คืออะไร

ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงามจากสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความงามให้รับรู้ในรูปแบบต่างๆเช่นการวาดภาพศิลปะ นาฏศิลป์ ดนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความงามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของตัวบุคคลนั้นว่างามหรือไม่โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมาและการถ่ายทอดปลูกฝังตั้งแต่เด็กเช่น เราคนไทยปลูกฝังกิริยามารยาทแบบไทยๆมาตั้งแต่เด็กผู้ใหญ่ก็สอนมาว่ามันงามแต่เมื่อโตขึ้นเราเห็นกิริยาของคนต่างชาติสำหรับเราก็คิดว่ามันไม่งามแต่สำหรับชาวต่างชาติประเพณีของเขาเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว

2. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียธให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิต

ประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

3. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาล

มีประโยชน์ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมทั้งปัญญาให้เกิดความคิดถึงสัจจะธรรมความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่ เจ็บ ตายของมนุษย์ เกิดการยอมรับกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งคนรอบข้างและตัวเราเอง ช่วยให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา ผ่านไปถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างเหมาะสม การพยาบาล

ประติมากรรม คือ

ประติมากรรมลวดลาย

ช่างไทยโบราณ นิยมใช้ลวดลายต่างๆ ประดับลงบนสิ่งของเครื่องใช้ ศิลปวัตถุ หรือศิลปสถานต่างๆ เกือบทุกชนิด ศิลปกรรมของไทยโบราณจึงมีความ ละเอียดวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นตู้ โต๊ะ เตียง ตั่ง คันฉ่อง เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ สิ่งก่อสร้างทั้งวัดและวัง เช่น โบสถ์ วิหาร พระปรางค์ เจดีย์พระที่นั่งหรือปราสาทราชมณเฑียร ศิลปกรรมเหล่านี้ต่างประดับลวดลายไว้เกือบทุกส่วน เพิ่มความสวยงามละเอียด ประณีต ซึ่งเป็นส่วนที่เชิดชูผลักดันศิลปวัฒนธรรมเหล่านั้นให้แสดงเอกลักษณ์และอุดมคติแบบไทยออกมาอย่างชัดเจน ศิลปกรรมทุกชนิดของไทยมีความละเอียดประณีตวิจิตรบรรจง เป็นศิลปะแบบอุดมคติ มีความรู้สึกทางความงามเหนือธรรมชาติ ช่างไทยโบราณมีฝีมือ ความคิด และความชำนาญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการกำหนดส่วนสัด ช่องไฟ การตกแต่งลวดลายลงไปในพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่มีกฎเกณฑ์การตกแต่งลวดที่บังคับตายตัวเกินไป นอกจากกำหนดระบบแบบแผนไว้กว้างๆ เช่น การแบ่งเนื้อที่ การเขียนกระจัง กนก การออกลาย การแบ่งลาย การห้ามลาย การแยกลาย และการต่อลายทั้งการต่อลายแบบขึ้นลง การต่อลายแบบซ้ายขวาการต่อลายดอกลอยและลายผนัง กฎเกณฑ์การเขียนลวดลายเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์พัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับปัญหาของพื้นที่ที่จะกำหนดลวดลายลงไป หากลองพิจารณาดูสถาปัตยกรรมไทยสักหลังหนึ่ง เช่น พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา-ราม จะเห็นลวดลายตกแต่งประเภทต่างๆ ทำงานร่วมกัน ในส่วนสัดที่เหมาะสม มีชั้นเชิงล้อรับสอดประสานสัมพันธ์กัน ทั้งในส่วนของหลังคา หน้าบัน คันทวย ผนัง เสา ฐาน การย่อมุม ตลอดจนเครื่องตกแต่ง บานประตูหน้าต่างที่มีการตกแต่งลวดลายทุกส่วนอย่างละเอียด แม้ศิลปะไทยโดยทั่วไปมีลักษณะออกจะฟุ่มเฟือยในการตกแต่งตามสายตาของคนรุ่นใหม่ แต่ถ้าลองพินิจพิจารณาดูอย่างละเอียดโดยตั้งใจแล้ว จะเห็นว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเกินความจำเป็นหรือขัดสายตาแม้แต่น้อย ประติมากรรมลวดลายของไทย แสดงให้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ ความคิดริเริ่มที่มีแบบอย่างเป็นของตนเอง ลวดลายทั้งหลายจะแสดงคุณค่าความรู้สึกในเชื้อชาติและเอกลักษณ์ไทยอย่างชัดแจ้ง ลวดลายมีเส้นสลับซับซ้อน ตัวลาย ทรงลาย ช่อลาย หรือถ้ามีเถาลายจะมีความคดโค้งอ่อนช้อยสัมพันธ์กัน สร้างอารมณ์อ่อนไหวละมุนละไม ที่สำคัญคือการสะบัดปลายเรียวแหลมของยอดกนกแต่ละตัวจะไม่แข็งกระด้าง ด้วนกุดและดูไม่ตาย แต่เคลื่อนไหวพลิกพลิ้ว การสร้างลวดลายกนกทุกเส้น ทุกตัว ทุกทรง และทุกช่อประสานสัมพันธ์กันทั้งในส่วนละเอียด ส่วนย่อยและส่วนใหญ่ ไม่มีการหักงอหรือแข็งกระด้างไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม ลวดลายส่วนใหญ่ของไทยได้รับความบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติทั้งพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ และมีการสร้างสรรค์มานานก่อนสมัยทวารวดี ลวดลายสมัยแรกๆเลียนแบบอย่างจากธรรมชาติ เช่น ลายใบไม้ ลายดอกไม้ ลายพรรณพฤกษาต่างๆ ต่อมาได้คลี่คลายมาเป็นลวดลายที่เป็นแบบประดิษฐ์มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น โดยเฉพาะตอนปลายสมัยอยุธยาและต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ลวดลายจึงมีหลายประเภทและมีชื่อเรียกที่ยังแสดงให้เห็นถึงที่มาจากความบันดาลใจเหล่านั้น เช่น ลายเครือเถา ลายก้านขดลายตาอ้อย ลายก้ามปู และลายกาบพรหมศรเป็นต้น ลวดลายเหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมากจนจัดเป็นศาสตร์ที่ได้รับการกำหนดเป็นแบบแผน ช่างไทยทั้งหลายต้องศึกษาจนเข้าใจชีวิตของลวดลายเหล่านี้ จนสามารถพัฒนาประยุกต์การใช้ลวดลายให้เหมาะสม เพราะประเภทของประติมากรรมไทยจะมีทั้งขุดแกะด้วยไม้ ปั้นหล่อด้วยโลหะปั้นด้วยปูน ประดับด้วยการลงสี ลงรักปิดทองประดับมุก ประดับกระเบื้อง ประดับกระจกหุงหรือสลักดุนนูนด้วยโลหะ การสร้างลายหรือนำลายมาใช้ จึงต้องสัมพันธ์กับตัววัสดุ กลวิธี และเทคนิควิธีการสร้างงานxระติมากรรม รวมทั้งพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการแสดงออกของศิลปกรรมเหล่านั้นด้วย การออกแบบลวดลายเพื่อใช้ในงานประติมากรรมของช่างไทยจะออกแบบต่างๆ กันตามวัสดุที่นำมาสร้างลายกล่าวคือ ถ้าวัสดุที่ใช้ทำลวดลายเป็นหิน ปูน หรือดินเผา การออกแบบลายก็จะมีเส้นหยาบ ทึบ ป้อม มิให้ลวดลายชูยอดไปจากพื้นมากนัก gพราะต้องช่วยรับน้ำหนักตัวเองมิฉะนั้นจะแตกหักง่าย แต่ถ้าเป็นการปั้นดินเพื่อการปั้นดินและนำไปเผาธรรมดา และถ้าวัสดุที่สร้างศิลปกรรมนั้นเป็นไม้ลวดลายจะเริ่มมีความละเอียดอ่อน เพราะไม้เป็นวัสดุเนื้ออ่อน จำหลักง่าย น้ำหนักเบา ตัวลายยื่นออกมาจากพื้นได้มากอีกทั้งยังสามารถสร้างลายซ้อนกันได้หลายชั้น ช่างไทยมีความชำนาญในการใช้วัสดุต่างๆ ซึ่งมีอยู่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นของไทย และสามารถเข้าใจธรรมชาติของวัสดุเหล่านี้เป็นอันดีจนเข้าใจการเลือกกลวิธีและเทคนิควิธีใช้วัสดุเหล่านั้น เพื่อผสมผสานส่งเสริมศิลปกรรมให้แสดงอารมณ์ คุณค่าความรู้สึกตามที่ช่างไทยปรารถนา การมีวัสดุใช้ในการสร้างงานศิลปกรรมอย่างอุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องพะวงถึงความไม่พอหรือประหยัดจนเกินการ จึงทำให้ลวดลายของไทยมีความละเอียดประณีตวิจิตรอลังการ แสดงความอุดมสมบูรณ์ในการใช้ลวดลายประดับในทุกส่วนของศิลปกรรมและศิลปสถานของไทย